วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8
วันอังคาร ที่ 25 ธันวาคม 2555
 
 
* ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการสอบกลางภาค

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 18 ธันวาคม 2555

*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
  - อาจารย์ให้ไปทำงานที่สั่งในอาทิตย์ที่แล้วให้เสร็จ

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่6
วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม 2555


อาจารย์ให้ส่งงานอาทิตย์ที่แร้ว และให้เอากล่องที่สั่งมา 
อาจารย์ถามว่า เห็นกล่องแล้วคิดถึงอะไร เพื่อนๆตอบว่า กล่องของขวัญ,หน้าต่างฯลฯ
อาจารย์พูดอีกว่า ถ้าเด็กตอบเร็วแสดงว่าเด็กมีความคิดคล่องแคล่ว
- อาจารย์ถามอีกว่า เราอยากให้กล่องเป็นอะไร เพื่อนๆตอบว่า ตึก,บ้านฯลฯ
-ให้กล่องเป็นอะไรนอกจากสิ่งของ เพื่อนตอบว่า รถ,หุ่นยนต์
อาจารย์ถามจะเอาคณิตสาสตร์ 12 ข้อ มาสอดคล้องกับกล่องอย่างไร
1.รูปทรง
2.ขนาด
3.พื้นที่
4.การวัด น้ำหนัก
5.การนับ
6.จำนวน
7.เปรียบเทียบ จำนวนกล่องที่ใส่อาหารไม่ใส่อาหาร
8.การจัดประเภท กล่องที่มีสีแดงเหมือนกัน
9.จับคู่ รูปทรงที่เหมือนกัน ขนาดที่เหมือนกัน
10.ทำตามแบบ วางตำแหน่งอนุกรม
11.การจัดเซต
12.เศษส่วน กล่องทั้งหมดมีเท่าไหร่
 
จากนั้นอาจารย์ให้แบบกลุ่มกลุ่มละ 10 คน แล้วให้นำกล่องที่นำมา มาต่อกัน 

1.โดยไม่มีการวางแผน



 
2. โดยมีการวางแผน


 
 
3.ให้เอาสิ่งประดิษฐิ์ของแต่ละกลุ่มมาจัดรวมกัน





 
*งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้เอาชื่องานวิจัย พ.ศ. มหาลัย วิจัยมา

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่5
วันอังคาร ที่ 4 ธันวาคม 2555

-อาจารย์ให้ส่งงานที่ไปเขียนเป็นความเรียง และให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ
 
-อาจารย์สอนวิธีเขียนแผนโดยนำคณิตศาสตร์มาสอน อาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนแผนของแต่ละวัน
 



 
*งานที่มอบหมาย
ให้ไปเขียนแผนของแต่ละวัน และให้นำกล่องมาคนละ 1 ชิ้น รูปทรงแบบไหนก็ได้
บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่4
วันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน 2555
 
   วันนี้อาจารย์ตรวจ มายแม็พของแต่ละกลุ่ม กลุ่มดิฉันทำหน่วย แมลง อาจารย์คอมเม้นมายแม็พของแต่ละกลุ่ม และอาจารยืให้แต่ละกลุ่มออกมาพรีเซ็นต์งาน 12ข้อ แล้วก็คอมเม้นงานของแต่ละกลุ่ม
  อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งอาทิตย์ที่แล้ว ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่ไปทำมา  
- จะเอาคณิตศาสตร์มาใช้กับหน่วยของเราอย่างไร และจะสอนกับอนุบาลไหน
กลุ่มดิฉันเขียนเกี่ยวเรื่องแมลง สอนเด็กชั้นอนุบาล 3
1.การนับ นับจำนวนขาของแมลงแต่ละชนิด
2.ตัวเลข เช่น ผีเสื้อ 1 ตัว แทนหมายเลข 1
3.การจับคู่ เช่น การจับคู่ภาพที่มีตัวเลขเหมือนภาพจะไม่เหมือนกัน
4.การจัดประเภท เช่น การจัดประเภทสีของแมลงที่เหมือน
5.การเปรียบเทียบ เช่น ขนาดของแมลงแต่ละชนิด
6.การจัดลำดับ เช่น การจัดลำดับแมลงที่มีขนาดเล็กไปหาแมลงที่มีขนาดใหญ่
7.รูปทรงและเนื้อที่ เช่น เอารูปแมลงแต่ละชนิดมาให้เด็กสังเกตแล้วให้เด็กบอกว่า แมลงชนิดนี้มีรูปอย่างไร
8.การวัด เช่น ให้เด็กวัดลำตัวของแมลง
9.เซต เช่น การเชื่อมโยงแมลงกับอาหารของแมลง
10.เศษส่วน เช่น มีแมลงทั้งหมด 10 ตัว แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
11.การทำตามแบบ เช่น ให้เด็กสังเกตรูปภาพจากตัวอย่าง แล้วต่อจิ๊กซอให้สมบูรณ์
12.การอนุรักษ์ เช่น ให้เด็กสังเกตแมลงชนิดเดียวกัน แต่ใส่ในภาชนะที่ต่างกัน
พอนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ได้เสนอแนะบางข้อที่ยังไม่สมบูรณ์

*งานที่ได้รับหมอบหมาย

ให้เอาสิ่งที่เขียนมาวันนี้ไปเขียนเป็นความเรียงว่าเราจะพูดกับเด็กอย่างไร


วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่3
วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

อาจารย์ให้ส่งงาน แล้วก็เอางานของทุกกลุ่มมาติดหน้าห้อง แล้วอาจารย์ก็อภิปรายงานของแต่ละกลุ่ม กลุ่มดิฉันทำหน่วย แมลง
    ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ ( นิตยา ประพฤติกิจ 2541:17-19)
1. การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ
7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
 
แผน
 
 

*การบ้าน
หน่วยที่เราคิดมาจะสอนกับเด็กอนุบาลไหน และจะเอาคณิตศาสตร์มาใช้กับเด็กอย่างไร

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 2
วันอังคาร ที่ 13 พฤศจิการยน 2555
 
- อาจารย์แจกกระดาษ1 แผ่น/ 4 คน ให้นักศึกษาวาดรูปที่ตนเองต้องการ และให้เขียนชื่อใต้ภาพ
- อาจารย์ให้น.ศ ที่มาก่อน08.30 ออกมาติดที่กระดาน และใครมาสายก็ติดถัดไป แล้วอาจารย์ก็พูดถึงการติดรูปต้องติดเป็นแนวนอน และติดจากสายไปขวา
      วิธีที่จะให้เด็กจำ คือการนับรวมเพิ่มที่ละหนึ่ง แล้วตัวเลขสุดท้ายเด็กจะได้จำได้ ตัวสุดท้ายคือเลขที่แสดงจำนวนค่าของจำนวนต่างๆที่ต้องการ
- อาจารย์ให้น.ศ ที่วาดรูปที่เกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิตออกไปติดรูป แล้วอธิบายว่า คณิตศาสตร์จะนับจำนวนให้เป็นเลขฐาน 10  เพื่อให้เด็กเข้าใจในตัวเลข เพื่อทำให้เด็กคุ้นเคย และถ้าเด็กทำซ้ำๆก็จะทำให้เด็กจำได้ง่ายขึ้น การสอนเด็กต้องเลือกประโยคที่เด็กเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
-อาจารย์เปิดเพลงให้ฟัง

เพลง 1-2-3-4


นับ 1 เป็นกบกระโด
นับ 2 ว่ายน้ำเหมือนปลา
นับ 3 วิ่งค้วบเหมือนม้า
นับ 4 บินเหมือนพี่เสื้อ
เพลงนี้เป็นการนับปากเปล่า เพื่อให้เด็กจำและเชื่อมโยงกับภาพ
เพลง แมลงปอ
เจ้าแมลงปอบินมา 1 ตัว
บินแล้วก็หมุน หมุนไปรอบตัว
บินไปทางซ้าย บินไปทางขวา
บินไปข้างหลัง แล้วก็บินไปข้างหน้า
เพลงนี้เป็นเรื่อง ของค่า การนับจำนวน และตำแหน่งทิศทาง เพลงนี้ควรอยู่ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ในเรื่องแมลง
- อาจารย์พูดถึง คณิตศาสตร์กับ6กิจกรรมหลัก พูดถึงเกมการศึกษา

* หมายเหตุ
- อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนแล้วแจกกระดาษให้เขียนหน่วย 1 หน่วย

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 1
วันอังคาร ที่ 6 พฤศจิการยน 2555

 
การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- วันนี้เรียนเป็นวันแรก อาจารย์พูดถึงเรื่องกฎระเบียบของมหาลัย เรื่องการแต่งกาย และพูดถึงรายวิชา การทำบล็อค การลิงค์บทความ การลิงค์วิจัย การนำเสนองาน วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1 แผ่น
- ให้นักศึกษาตอบคำถาม คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของท่านคืออะไร
(ตอบแค่ 1 ประโยค)
ดิฉันเขียนว่า  สื่อที่รวบรวมการคิดคำนวณผ่านตัวเลข
และอาจารย์ให้คำถามอีกคำถาม...ว่า สิ่งที่ต้องรู้หลังเรียนเสร็จคือ



ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
หมายถึง ความสามารถพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการสัเงกต การจำแนก การเปรียบเทียบ ขนาด รูปทรง การจัดลำดับ การจัดหมวดหมู่ น้ำหนัก การนับ ความยาว ความสูง การวัด และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งสอดแทรกอยู่ในกิจวัตรประจำวันและเป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็ก เป็นการปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนในระดับที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคต

หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กเล็ก
ตามแนวคิดของเพียเจต์ นักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา มีดังนี้
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือ
ด้วยตนเองเท่านั้น
2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่อง
หมายเท่านั้น
3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์
การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น